วีไอมือใหม่ "รู้จักกับ A. Fisher นักลงทุนหุ้นเติบโต"

สวัสดีครับ “เริ่มต้นเล่นหุ้นไม่ยาก” ในวันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศสบายๆ พูดคุยถึงนักลงทุนต้นแบบคนสำคัญ โดยผมจะทยอยนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกันแบบค่อยเป็นค่อยไปนะครับ คนแรกที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ อาจารย์ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ (PHILIP A. FISHER) ซึ่งเป็นนักลงทุนในหุ้นโตไว หรือ Growth Stock ผู้โด่งดังนั่นเองครับ

อาจารย์ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ (PHILIP A. FISHER) นั้นเป็นนักลงทุนที่วิเคราะห์บริษัทแบบเจาะลึก โดยเน้นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นหลัก และสามารถวิเคราะห์ได้ถึง “แก่น” ของการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นเหตุของผลกำไรในปัจจุบันครับ

โดยแม้แต่นักลงทุนผู้โด่งดังอย่าง Warren Buffett เคยพูดอยู่เสมอว่าวิธีการลงทุนของเขานั้น 70% มาจาก Benjamin Graham อีก 30%มาจาก Phil Fisher เขาผู้นี้เป็นใคร ทำไม่นักลงทุนระดับ Warren Buffett ถึงได้กล่าวไว้เช่นนั้น เราลองมามาดูประวัติ และแนวทางการลงทุนของเขากัน

ประวัติ

อาจารย์  ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ฝันอยากเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน และหลังจากผ่านการอบรบนักวิเคราะห์ ที่ธนาคาร ซานฟานซิสโก เขาก็เริ่มเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในบริษัทของเขาเองเมื่อปี 1931 เขาจะเชี่ยวชาญในการลงทุนในธุรกิจที่เขารู้จักดี ซึ่งมักจะเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆที่ได้จากการวิจัยและ พัฒนาของบริษัท เขาเริ่มใช้กลยุทธ์การลงทุนนี้ก่อนการเกิดของ Silicon Valley ถึง 40 ปี

บริษัทที่เขามักแนะนำให้ลูกค้าซื้อมักเป็นบริษัท Low-tech เช่นบริษัทเคมีภัณฑ์ใหญ่ๆ หรือบริษัทผลิตเครื่องจักรอาหาร หลังจากนั้นเขาก็ได้ชื่อว่าเป็นนักลงทุนที่เห็นถึงคุณค่าของหุ้นในกลุ่ม Hi-techอย่าง Motorola และ Texas Instruments ขณะที่เขามีอายุได้ 90ปี เขายังคงทำงานในลักษณะเดิมอย่างที่เคยทำ เขาเป็นคนที่ใช้เหตุผล และยึดหลักปฎิบัติอย่างเข้มงวด เขาเป็นคนเดียวที่จะเลือกลงทุนในบริษัทที่เขาได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดรอบ ครอบ โดยศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ การสัมภาษณ์ผู้บริหารและคู่แข่งของบริษัท และสิ่งนี้ทำให้เขาเข้าถึงมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทได้ก่อนใคร

วิธีการ และแนวทางในการลงทุน Methods and guidelines

ฟิลลิป ฟิชเชอร์ จะให้ความสนใจในหุ้นบริษัทใหม่ที่มีการเติบโต (Young growth stock) และเพื่อให้ได้มาซึ่งความชัดเจน นักลงทุนควรจะต้องทำการบ้านดังต่อไปนี้ครับ
– อ่านข้อมูลทุกอย่างที่หาได้ ทั้งจากวารสาร รายงานของบริษัทหลักทรัพย์
– สนทนากับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นผู้จัดการ พนักงาน โดยเฉพาะกับผู้ป้อนวัตถุดิบ ลูกค้า คู่แข่ง
– เยี่ยมชม สถานที่ทำงานในจุดต่างๆของบริษัทเช่นโรงงาน สาขา ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรไปแค่สำนักงานใหญ่
– ก่อนที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆ จะต้องแน่ใจว่าสามารถตอบคำถามทั้ง15ข้อดังต่อไปนี้ได้

คำถาม 15 ข้อของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์

1.บริษัทนี้มีสินค้า หรือบริการที่มีศักยภาพทางการตลาด ที่สามารถทำยอดขายให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในอีกหลายๆปีข้างหน้าได้หรือไม่?

2.ผู้ บริหารของบริษัทมีแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ หรือขบวนการใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการขายสินค้า ในขณะที่สิ้นค้าชนิดเดิมก็ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง

3.การวิจัยและพัฒนาของบริษัทมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัท?

4.บริษัทนี้มีหน่วยงานขายที่อยู่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่?

5.บริษัทนี้มีกำไรขั้นต้นสูงหรือไม่ ?

6.บริษัทมีกลยุทธ์อะไรในการรักษาหรือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น?

7.บริษัทมีหน่วยงานแรงงานสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่?

8.ผู้บริหารภายในบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่

9.การจัดการของบริษัทมีความซับซ้อนหรือไม่

10.บริษัทมีการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุน และบัญชีดีแค่ไหน

11.บริษัทมีแนวทางในการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันอย่างไร

12.บริษัทมีทัศนะทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการทำกำไรของบริษัทอย่างไร?

13.ใน อนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้นั้น หากบริษัทต้องการเงินทุนด้วนการระดมทุนเพิ่มเพิ่มเพื่อสร้างการเติบโตให้สูง ขึ้น การที่มีหุ้นเพิ่มสูงขึ้นจะกระทบผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นมากน้อยอย่างไร?

14.ให้สังเกตว่า เมื่อยามที่กิจการไปได้ดีผู้บริหารของบริษัทยินดีที่จะพูดคุยอย่างตรงไปตรง มากับนักลงทุน แต่ในยามที่มีเหตูการเลวร้ายผู้บริหารจะหายตัวไปหรือไม่?

15.บริษัทมีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์หรือไม่
(ที่มา : Common Stocks and Uncommon Profits, P Fisher, 1958)

ความสำเร็จของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ นั้นสามารถบริหารกองทุนจนมีกำไรกว่า 7000% โดยประโยคสุดคลาสสิกของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ก็คือ

“ถ้าหากการวิเคราะห์บริษัทได้ทำลงไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว

เวลาที่จะขายหุ้นนั้นคือ ไม่มีระยะเวลา”
“If the job has been correctly done when a common stock is purchased,

the time to sell it is – almost never.”

fisher

1 reply

Comments are closed.