รีวิวหุ้น UAC กับอนาคตที่น่าจับตามอง

ข้อมูลทั่วไป

บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ หรือ UAC”) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2528 ในนามบริษัท จักรนภา จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ต่อมาในปี 2538 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งสำคัญโดยคุณกิตติ ชีวะเกตุ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจเคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท และเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2538 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด ดำเนินธุรกิจนำเข้าและจำหน่าย สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี โรงงานผลิตน้ำมันหล่อลื่น โรงงานโพลิเมอร์และพลาสติก โรงงานอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ โรงไฟฟ้า และระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 2 ล้านบาท, 5 ล้านบาท, 70 ล้านบาท และ 120 ล้านบาท ในปี 2542, 2547, 2551 และ 2552 ตามลำดับ
[premium level=”1″ teaser=”no” message=”หากต้องการอ่านบทความนี้กรุณา”]

บริษัทได้ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเข้าเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น โดยบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงให้กับผู้ผลิตชั้นนำรายใหญ่ของโลกหลายราย อาทิ UOP LLC. และ PALL Corporation ตั้งแต่ปี 2538 – 2539 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตดังกล่าว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สารดูดความชื้น ดูดซับกลิ่น และสิ่งเจือปน(Adsorbent and Molecular Sieve) ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบการกรอง (filtration) เป็นต้น และเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับผู้ผลิตในประเทศ ได้แก่ บริษัท ทีโอซีไกลคอล จำกัด โดยจำหน่ายสาร Monoethylene Glycol (MEG) และ Diethylene Glycol (DEG) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมสี และตัวทำละลายอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผลิตเม็ดพลาสติค ผลิตขวดน้ำ และผลิตเรซิ่น ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้ขยายธุรกิจเข้าไปในอุตสาหกรรมน้ำมัน โดยได้รับเป็นตัวแทนให้กับผู้ผลิตหลายรายในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำมันเครื่องขั้นพื้นฐาน สารเติมแต่งน้ำมันเครื่องหล่อลื่นเครื่องยนต์ น้ำมันเบรค และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตน้ำมันชนิดต่างๆ ที่ใช้กับรถยนต์ เรือ เครื่องยนต์ทั่วไป

บริษัทฯ มีบริษัทร่วมทุน 2 บริษัทคือ บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด (BBF) สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 30 โดยบริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนจากการลงทุนดังกล่าว และอีก 1 บริษัทคือ บริษัท ยูเอซี ไฮโดรเทค จำกัด สัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 50.003

uac

ในความคิดเห็น

UAC นั้นมีธุรกิจที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำก๊าซอัดชีวภาพ Compressed Bio-methane Gas หรือ CBG ซึ่งเป็นการเช่าพื้นที่ระยะยาว 18 ปี เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ โดยกำลังการผลิตมีอยู่ 8 ตันต่อวัน และยังมีโครงการที่น่าสนใจคือการสำรวจ และผลิตก๊าซธรรมชาติ บวกกับการก่อสร้างโรงแยกก๊าซที่จังหวัดสุโขทัย (Petroleum Production Project) เพื่อผลิตก๊าซ CNG และ LPG ถือเป็นธุรกิจที่น่าจับตามองครับ

สำหรับการขยายธุรกิจพลังงานทางเลือกอาจเป็นเพียงการทำให้กลุ่มบริษัทดูมีความเป็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตก๊าซ ถือเป็นประโยชน์สองต่อครับ ตอนนี้ Market Cap ของ UAC ยังต่ำอยู่ประมาณ 2 – 3 พันล้านบาท น่าจะยังสามารถเติบโตได้อีก และหากเติบโตขึ้นก็จะดึงดูดบริษัทหลักทรัพย์ หรือนักลงทุนที่ชอบลงทุนในหุ้นที่มีขนาดพอสมควรเข้ามาอีก ดูมีแนวโน้มที่ดี แต่เรื่องราคาที่เหมาะสมคงต้องค่อยๆ พิจารณากัน ประกอบกับความเสี่ยงของโครงการใหม่ที่เราต้องศึกษาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจนะครับ

(นายแว่นธรรมดา)

[/premium]

2 replies
  1. Sakchai Muanchanphen
    Sakchai Muanchanphen says:

    การค๋าณวณก๋าไรต่อหู้น เช่นก๋าไร 0.93 จะค๋าณวรให้ได้ราตาเป้าหมายจะค๋าณวรขังไงตรับ.

    • นายแว่นธรรมดา
      นายแว่นธรรมดา says:

      สวัสดีครับ การคำนวนกำไรต่อหุ้น จะคำนวนมาจากกำไรสุทธิ หารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทครับ ส่วนการคำนวนกำไรต่อหุ้นล่วงหน้า อาจหาข้อมูลมาจาก 1.กำไรต่อหุ้นในอดีต 2.โอกาสในการเติบโตของบริษัท 3.แผนการเติบโตในอนาคตบวกความเป็นไปได้จริงครับ

Comments are closed.