รีวิวหุ้น BCH บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) กับ "การลงทุนครั้งใหม่"

BCH ดำเนินธุรกิจกลุ่มโรงพยาบาลให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าเงินสดและกองทุนประกันสังคม โดยมีศูนย์ศัลยกรรมหัวใจ ศูนย์ตรวจสอบหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์เด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย ศูนย์ตา เป็นกลุ่มแพทย์ที่มีความซับซ้อน

หากมองไปในอนาคตในอีกไม่ีกี่ปีข้างหน้า “ผู้สูงอายุ” จะมีจำนวนมากขึ้น และสิ่งที่ต้องตามมาสำหรับผู้สูงอายุก็คือ “โรงพยาบาล” หากเราเป็นนักลงทุนระยะยาว “หุ้นโรงพยาบาล” ควรจะอยู่ใน “โฟกัส” ของการลงทุนอย่างไม่ต้องสงสัยเลยครับ

BCH

[premium level=”1″ teaser=”no” message=”หากต้องการอ่านบทความนี้เพิ่มเติมกรุณา”]

บริษัทฯ ได้จัดประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการไว้ 5 กลุ่ม ดังนี้

1. Kasemrad General Hospital [KR] เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์ระดับปฐมภูมิและระดับทุติยภูมิ สำหรับผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แก่กลุ่มลูกค้าเงินสดและลูกค้าตามโครงการภาครัฐ

2. Kasemrad Medical Center [KH Med Center] เป็นศูนย์เฉพาะทางที่ให้บริการระดับตติยภูมิ ซึ่งเป็นบริการทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อน ได้แก่ การผ่าตัดหัวใจ ศูนย์ศัลยกรรมหัวใจ (Heart Surgery Center) ศูนย์ตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cath Lab Center) และศูนย์ดวงตา (Lasik and Eye Center) โดยเปิดดำเนินการที่สาขาประชาชื่นเพื่อให้การรักษาแก่ผู้ป่วยจากกลุ่มโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ทั้ง 6 สาขา และผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลพันธมิตรอื่นๆ (Alliance Hospitals) ทั่วประเทศ

3. Kasemrad Community Clinic [KCC] เป็นคลินิกชุมชนของบริษัทฯ ที่เปิดให้บริการทางการแพทย์ระดับปฐมภูมิ (บริการผู้ป่วยนอก) ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 1 คลินิก

4. KH Better Life เป็นศูนย์ที่ให้บริการด้านการเสริมสร้างบุคลิกและสุขภาพ ได้แก่ ศูนย์ตรวจสุขภาพ ศูนย์ทันตกรรมเพื่อความงาม ศูนย์สุขภาพผิวและความงาม ศูนย์ศัลยกรรมความงาม รวมทั้งบริการแพทย์ทางเลือก เช่น ศูนย์แพทย์แผนจีน ศูนย์แพทย์แผนไทย ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ ได้จัดพื้นที่บริการในโรงพยาบาลทั้ง 6 แห่ง

5. WMC เป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่จะเปิดใหม่ภายใต้ชื่อ The World Medical Center โดยเน้นให้บริการทางการแพทย์ทุกระดับขั้นของการรักษาแก่ลูกค้าเงินสด โดยได้เริ่มก่อสร้างสาขาแรกบนถนนแจ้งวัฒนะ (ใกล้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล) ในปี 2553 และจะเปิดดำเนินการในไตรมาส 1 ของปี 2556

การดำเนินธุรกิจในรูปของกลุ่มโรงพยาบาลและการสร้างพันธมิตรเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการ

บริษัทดำเนินธุรกิจในรูปของกลุ่มโรงพยาบาล โดยมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 6 สาขา ซึ่งให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด นอกจากนี้ บริษัทได้เปิดศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Referral Base) ที่ให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคหัวใจแบบครบวงจร ทั้งการรักษาโดยการสวนหัวใจและการผ่าตัด รักษาและผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาด้วยเครื่องเลเซอร์ การรักษาผู้ป่วยเด็กน้ำหนักน้อย ที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของโรงพยาบาลในกลุ่มเกษมราษฎร์เอง และผู้ป่วยจากโรงพยาบาลทั่วไปที่เป็นพันธมิตร (Main Contractors ของสนง. ประกันสังคม และ สนง. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) กว่า 50 แห่งทั่วประเทศ โดยโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น จะคิดค่าบริการจากโรงพยาบาลทั่วไปที่เป็นพันธมิตรในอัตราพิเศษ และผู้ป่วยจะได้รับการรักษาและผ่าตัดค่อนข้างรวดเร็ว ซึ่งการมีพันธมิตรดังกล่าวนอกจากจะทำให้บริษัทฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รายได้จากกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย และรายได้ที่เข้ามาประจำจากโครงการกองทุนประกันสังคมและโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า

จากการที่บริษัทฯ ให้บริการแก่ลูกค้าหลายประเภททั้งกลุ่มลูกค้าเงินสดและกลุ่มลูกค้าตามโครงการภาครัฐ ทำให้บริษัทฯ มีโครงสร้างรายได้ที่แข็งแกร่ง และค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการให้บริการแก่โครงการกองทุนประกันสังคมและโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งสำนักงานประกันสังคมและสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยตามกฎหมายและตามนโยบายหลักของรัฐบาล ทำให้บริษัทฯ สามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านการแพทย์ พยาบาล บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือแพทย์ และเตียงผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การจัดการและการบริหารสินค้าคงคลัง

การดำเนินธุรกิจในรูปของกลุ่มโรงพยาบาล ทำให้บริษัทฯ มีความได้เปรียบจากด้านขนาด (Economy of scale) การจัดการและการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) เนื่องจากบริษัทฯ มีนโยบายการจัดซื้อ จัดหา วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการให้บริการได้แก่ ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยผ่านฝ่ายจัดซื้อกลางสำหรับทุกโรงพยาบาลในกลุ่ม จึงมีปริมาณสั่งซื้อสินค้าต่อครั้งจำนวนมาก ทำให้บริษัทฯ มีอำนาจต่อรองทางด้านราคา และระยะเวลาการชำระเงินกับผู้ขายได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้บริษัทฯ ได้รับส่วนลดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดซื้อแยกแต่ละโรงพยาบาล นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีนโยบายการยืมเครื่องมือทางการแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ โลหิตและส่วนประกอบของโลหิตระหว่างโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีสินค้าใช้ได้ทันเวลา และลดปัญหาสินค้าหมดอายุ

ประเด็นของการทำธุรกิจโรงพยาบาลนั้น ปัจจัยสำคัญที่เรา้ต้องคำนึงถึงก็คือ บุคคลากรทางการแพทย์ การบริการ และค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยที่สมเหตุสมผลครับ อย่างไรก็ตาม BCH จะโดดเด่นเรื่องประกันสังคม ที่ยึดหัวหาดของผู้ประกันตนที่ต้องมีจำนวน 5-7 หมื่นคน จึงจะ “คุ้มทุน” สำหรับการทำธุรกิจ ผมเองก็เฝ้าติดตามเป็นระยะๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลที่น่าจะเป็นเทรนด์ในอนาคตอันใกล้นี้ หากมีข่าวคราวเพิ่มเติมอย่างไรจะนำมาอัปเดตให้รับทราบกันนะครับ

BCH หุ้น

อนาคตการเติบโตของ BCH

ธรรมชาติของธุรกิจโรงพยาบาลหากเข้าสู่หน้าฝนจะมีการเติบโตที่ดีซึ่งจะอยู่ในช่วงไตรมาสที่สาม การเติบโตของเกษมราษฐ์ก็จะเติบโตได้ในช่วงนี้ เป็นกลุ่มลูกค้าในประเทศ (organic growth) แต่หากมองไปในอนาคต BCH ต้องการจะจับกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น ได้แก่ กลุ่มลูกค้าอาเซียน กลุ่มลูกค้าตะวันออกกลาง หรือแม้แต่กลุ่มลูกค้าฝั่งตะวันตก (non-organic growth) โดย BCH จะวางตัวเองเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากเมื่อเทียบกับ สิงค์โปร และมาเลเซีย ทำให้เกิด “ช่องว่าง” ของการเติบโต โดยลูกค้าที่ตรวจร่างกายเบื้องต้นในประเทศสิงคโปร์ที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จะมารักษาที่ประเทศไทยหากเป็นโรคที่ค่อนข้างเฉพาะทางและมีค่าใช้จ่ายตามมา

โอกาสในการเติบโตของหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลโดยเฉพาะ BCH จึงอยู่ที่การขยายฐานลูกค้าภายในประเทศ และต่างประเทศ โดยเร็วๆ นี้ BCH เริ่มที่จะ take over บริษัท นวนครการแพทย์ เพื่อรองรับการเติบโตของกลุ่มลูกค้าประกันสังคม ผู้บริหารที่ไม่หยุดนิ่งจะทำให้ BCH เป็นหุ้นที่น่าสนใจในอนาคตครับ

ข่าว BCH 

บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH) เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นร้อยละ 50.002 ในบริษัท นวนครการแพทย์ จำกัด (นวนครการแพทย์) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ในราคาประมาณ 225 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของนวนครการแพทย์ โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถทำการโอนหุ้นได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 56 สำหรับ บริษัท นวนครการแพทย์ จำกัด ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลนวนคร ตั้งอยู่ที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

dr BCH

“ราคาการให้บริการต่อหน่วยของโรงพยาบาลไทยยังไม่สูงมาก ทำให้มีโอกาสในการเติบโตในระยะยาวอีกมาก” (นายแพทย์ เฉลิม หาญพานิชย์)

“แผนการเติบโตของ BCH (2557)”

หุ้น BCH เป็นแบรนด์รองจากหุ้น BGH ที่ใหญ่กว่าแต่ทว่าระยะยาวบริษัทยังคงแผนในการขยายฐานลูกค้าครอบคลุมทุกระดับ โดยแบ่งได้ดังต่อไปนี้ครับ

ระดับบนภายใต้แบรนด์ WMC
ระดับกลาง คือแบรนด์เดิมเกษมราษฏร์
ระดับล่าง ภายใต้แบรนด์ใหม่ การุณเวช ที่เน้นกลุ่มลูกค้าประกันสังคม

โดยคงแผนเปิดโรงพยาบาลใหม่เพิ่มอีก 3-4 แห่ง ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ได้แก่

1) โรงพยาบาลสาขาบางบัวทอง ขาด 100 เตียง คาดจะเปิดให้บริการปลายปี 57

2) โรงพยาบาลใหม่บริเวณรามคําแหง ขนาด 250 เตียง คาดเริ่มสร้างปลายปี 57 และเปิดในปี 59

3) โรงพยาบาลแห่งใหม่ที่พัทยา ใช้แบร์นด WMC เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนคาดเริ่มสร้างใน 2 ปีข้างหน้า

จากแผนการเติบโตดังกล่าวเราคงได้เห็นหุ้น BCH สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อีกขั้น แม้จะไม่รวดเร็ว เชิงรุกเท่าหุ้น BGH แต่ก็น่าสนใจไม่น้อยทีเดียวครับ (นายแว่นธรรมดา)

[/premium]

เว็บบอร์ดคุยหุ้น BCH

(นายแว่นธรรมดา)
แนะนำเว็บไซค์สำหรับคนอยากมีบ้านหลังแรก และต้องการมองหาการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

http://www.topofliving.com/ (โดยนายแว่นธรรมดา เช่นเคยครับผม)

logo-topofliving2

 

เปิดรับสมัครสมาชิก

เว็บบล็อก “นายแว่นธรรมดา” เปิดรับสมัครสมาชิกรายปีครับ โดยสมาชิกจะได้รับหนังสืออีบุ๊กส์ฟรี 1 เล่มจาก “ร้านหนังสืออีบุ๊กส์ นายแว่นธรรมดา” มีหนังสือเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน การทำธุรกิจส่วนตัว ให้เลือกซื้อแล้วนะครับ สำหรับสมาชิก 9 ปี ดาวน์โหลดหนังสือฟรี 1 เล่มครับ… สมาชิกตลอดชีพรับฟรีอีบุ๊กส์ 2 เล่ม สมัครคลิ๊กที่เมนู “สมัครสมาชิก” http://www.naiwaen.com/?page_id=3131

หรือติดต่อ
[email protected]

เข้าไปดูวิธีการสั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่ครับ
http://naiwaenstore.com/store/how-to-order/

สมัครสมาชิก

 

9 replies
    • นายแว่นธรรมดา
      นายแว่นธรรมดา says:

      Model ประกันสังคมต้องมีฐานข้อมูลลูกค้าถึงระดับหนึ่งจึงจะคุ้มทุนครับ ซึ่งจุดนี้ BCH น่าจะทำได้ดีกว่า รพ.อื่นครับที่เน้นลูกค้าฟรีเมี่ยมมากกว่า

  1. นายแว่นธรรมดา
    นายแว่นธรรมดา says:

    จากที่มอนิเตอร์สถิติ การค้นหา หลังจากเปิดตัวเว็บ อนันต์มันนี่ ทำให้ทราบว่ามีคนสนใจหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล กันค่อนข้างเยอะ ก็เลยอยากแชร์วิธีวิเคราะห์
    เริ่มกันเลย
    ::)
    หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล ที่ผลประกอบการดี ใช้ได้ ที่ผ่านเกณฑ์ของผม ก็จะมี AHC, BCH, BGH, BH, M-CHAI, NTV, RAM, VIBHA, SVH ส่วน VIH ขอดูอีกสักระยะก่อน

    จำนวนสาขา เครือข่าย ในประเทศ : ตามลำดับกันเลย BGH, RAM, VIBHA, BCH, M-CHAI, SVH, AHC, NTV, BH ผมมองว่า โรงพยาบาล ที่มีเครือข่ายสาขา มาก จะดีกว่า เครือข่าย สาขาน้อย ในแง่ของการ ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้มากกว่า มีอำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์มากกว่า รวมถึงถ้าเกิดปัญหา เช่น น้ำท่วม ภัยพิบัติ การชุมนุมทางการเมือง ในบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้รายได้ลดลง ในสาขานั้นๆ แต่ก็จะมีสาขาอื่นๆ ช่วยค้ำจุนได้

    กลุ่มลูกค้าหลัก : ลูกค้าต่างชาติ หรือกลุ่มลูกค้าฐานะดีมากๆ ในประเทศ จะเป็น BH, BGH, ซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากลูกค้า ต่างชาติ และคนฐานะดี เป็นส่วนใหญ่ ส่วนโรงพยาบาลอื่นๆ ก็พอมีบ้าง แต่สัดส่วนรายได้ส่วนนี้ จะเป็นสัดส่วนไม่สูงมาก

    กลุ่มลูกค้าหลัก : คนไทย และชาวต่างชาติ (เล็กน้อย) ได้แก่ RAM, VIBHA, BCH, M-CHAI, SVH, AHC, NTV
    ประเด็นเรื่องกลุ่มลูกค้า ต่างประเทศ หรือในประเทศ นี้ ผมค่อนข้างจะชอบ โรงพยาบาลที่มีสัดส่วนรายได้จากลูกค้าในประเทศ เยอะๆ มากกว่า เพราะถ้าพึ่งพารายได้ จากต่างประเทศเป็นหลัก เวลามีปัญหาทางการเมือง ภัยพิบัติ โรคระบาด กลุ่มลูกค้าต่างชาติ อาจตัดสินใจไม่มารักษาตัว ในประเทศเราได้

    กลุ่มลูกค้าเงินสด : ประเด็นนี้ ยกให้ BGH, RAM, VIBHA, BCH, SVH, BH โดเด่น ครับ โรงพยาบาลอื่นๆ ก็มีลูกค้าเงินสด เหมือนกัน แต่เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าที่ได้กล่าวมา
    กลุ่มลูกค้าสวัสดิการ : เช่นลูกค้าประกันสังคม M-CHAI, AHC, NTV, รายได้จากกลุ่มลูกค้าสวัสดิการ, ประกันสังคม ก็ดีอยู่อย่างนึงครับ คือจะมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน เหมาจ่าย แต่จะไม่ดีเท่า โรงพยาบาลที่เน้นลูกค้าเงินสด

    Utilization : หรือที่พวกนักวิเคราะห์ชอบเรียกกันว่า อัตราการใช้เตียง อะไรทำนองนี้หละครับ รู้จากไหน ผมจะพยายามอ่านในรายงานประจำปี หรือ 56-1 ของบริษัทนั้นๆ ที่เว็บของตลาดหลักทรัพย์
    ดูอะไร : ผมมองว่าถ้าโรงพยาบาลไหน มี Utilization สูงๆ ก็ดีครับ ใช้สินทรัพย์ได้เต็มประสิทธิภาพ แต่มองในอีกแง่นึง มันก็พอจะบอกได้ว่า มันเต็มที่ไปแล้วหรือยัง ถ้าเต็มที่แล้ว อีกทั้งไม่มีแผนขยายสาขา มันก็พอจะบอกได้ว่ามันจะโตได้ไม่มากแล้ว
    ถ้า Utilization ต่ำๆ มองได้ 2 แง่คือ มีคู่แข่งเยอะๆ บริการไม่ดี ลูกค้าก็เลยน้อย หรือ 2 สร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จำนวนเตียงมาก เพื่อรองรับอนาคต ยกตัวอย่าง SVH หรือโรงพยาบาล สมิติเวช ที่สาขาศรีนครินทร์ นั้น มี Utilization ค่อนข้างต่ำ แต่ด้วยที่ตั้งอยู่ในย่านเศรษฐกิจชานเมือง ที่กำลังเติบโต อยุ่ไม่ไกลจากสนามบิน จึงพอจะคาดได้ว่า โรงพยาบาลนี้ยังเติบโตต่อไปได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนหนักๆ ในการสร้างโรงพยาบาล หรือสาขาใหม่

    วกมาดูเรื่องงบการเงิน : ดูอะไรบ้าง ถ้าจะให้ดีมันต้อง 3 โต ครับ อะไรบ้างหละ
    1.รายได้ เติบโต ต่อเนื่อง
    2.กำไร (ตัวเงิน) เติบโต ต่อเนื่อง
    3.อัตรากำไรสุทธิ เติบโต ต่อเนื่อง
    แบบนี้เรียกว่าสุดยอด ส่วนประเด็นเงินปันผล เติบโต หรือไม่ผมไม่ค่อยเน้นเท่าไหร่ กับกลุ่มนี้

    เรื่องความถูก ความแพง : ผมจะวัดความถูกความแพง ด้วยค่า P/E Ratio หรือ ราคาหุ้น เป็นกี่เท่า ของกำไรที่ทำได้ (กำไรที่คาดการณ์)
    กลุ่มที่ผมให้ราคาเหมาะสม > 25 เท่าของกำไรต่อหุ้นที่คาดการณ์ คือ โรงพยาบาลระดับ TOP ได้แก่ BGH, BH, SVH
    รองลงมาให้ราคาเหมาะสม 20-25เท่าของกำไรต่อหุ้นที่คาดการณ์ คือ BCH, VIBHA, RAM
    รองลงมาอีกให้ราคาเหมาะสม 15-20 เท่าของกำไรต่อหุ้นที่คาดการณ์ คื่อ NTV, AHC, M-CHAI เพราะมองว่าเป็นโรงพยาบาล ระดับท้องถิ่น สาขาไม่เยอะมาก

    8) ธุรกิจนี้ มีดีที่ไม่มีใครเหมือนคือ : ลูกค้าไม่มีอำนาจต่อรอง เลย ตั้งตาราไว้เท่าไหร่ ก็ต้องจ่ายราคานั้น

  2. ไอเดียเกษตร
    ไอเดียเกษตร says:

    โรงพยาบาลเป็นธุรกิจที่มีอำนาจต่อรองสูง ยกตัวอย่าง เราไปรักษา เวลาเจ็บ ป่วย เราไม่สามารถต่อรองค่ารักษาพยาบาล ใบเสร็จเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น ก่อนเข้าใช้บริการลูกค้าจะรู้สถานะทางการเงินของตัวเองดี การเติบโตของรายได้มาจากหลายทาง
    1.สร้างโรงพยาบาลเพิ่ม ใช้เงินลงทุนสูง ใช้เวลานานกว่าจะคุ้มทุน
    2.เพิ่มค่าบริการ ตรงนี้จะช่วยเพิ่มอัตรากำไรในขณะที่ต้นทุนอาจไม่ได้เพิ่มเลยหรือเพิ่มเล็กน้อย
    3.หันไปจับลูกค้ากลุ่มที่มีอำนาจจ่ายสูง เช่น ลุกค้าต่างชาติ ลูกค้าระดับบน ตรงนี้อาจทำได้ยากหากโรงพยาบาลไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
    4.ซื้อกิจการ เป็นการเพิ่มรายได้ที่รวดเร็ว แต่ก็แลกมาด้วยต้นทุนที่ต้องจ่าย คือ การกู้ยืม ดอกเบี้ย

  3. ไอเดียแจ่ม การตลาด กับ นายแว่นธรรมดา
    ไอเดียแจ่ม การตลาด กับ นายแว่นธรรมดา says:

    นายแพทย์เฉลิม หาญพาณิชย์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทบางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายแพทย์จักรพันธ์ พงษ์เสฐียร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์คีเลชั่นบำบัด ที่ศูนย์คีเลชั่นบำบัด ชั้น 1 โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์ จ.เชียงราย โดยศูนย์ดังกล่าวได้เริ่มเปิดให้บริการประชาชนในการตรวจร่างกายเพื่อหาสารตกค้างภายในเลือดและทำการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมี นายแพทย์กฤช รอดอารีย์ ทำหน้าที่เป็นแพทย์ดูแลประจำศูนย์ดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีประชาชนเริ่มเข้าใช้บริการตรวจเลือดกันอย่างคึกคัก

    นายแพทย์กฤช กล่าวว่า ในปัจจุบันประชาชนทั่วไปยากที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตกค้างในร่างกาย ทำให้เกิดการขับพิษ หรือดีท็อกซ์ในอวัยวะต่างๆ ทั้งดีท็อกซ์ลำไส้ ตับ ฯลฯ ขณะ เดียวกันเราจะพบว่าเส้นเลือดก็ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างมาก เพราะทำหน้าที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่ถ้ามีปัญหา หรือชราภาพลงก็จะเสื่อมสภาพและทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายน้อยลงจนส่งผลเสียต่อร่างกาย

    รวมทั้งหากมีสารตกค้างก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ โดยในปัจจุบันพบสารตกค้างในร่างกายของผู้ป่วยเป็นประจำ เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคสเมียม แมงกานีส ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป เช่น สารหนูที่อยู่ในข้าวที่สีไว้และป้องกันมอดกินข้าว ตะกั่วในสีต่างๆ หรือบางครั้งพบในอากาศ โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทำให้เป็นบ่อเกิดของโรคที่พบได้ง่าย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความ ดันโลหิตสูง มะเร็ง ฯลฯ

  4. นายแว่นธรรมดา
    นายแว่นธรรมดา says:

    บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH) เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นร้อยละ 50.002 ในบริษัท นวนครการแพทย์ จำกัด (นวนครการแพทย์) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ในราคาประมาณ 225 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของนวนครการแพทย์ โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถทำการโอนหุ้นได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 56 สำหรับ บริษัท นวนครการแพทย์ จำกัด ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลนวนคร ตั้งอยู่ที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

    จำนวนเตียงที่ได้รับอนุญาต 200 เตียง และ โรงพยาบาลนวนคร อยุธยา ตั้งอยู่ที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวนเตียงที่ได้รับอนุญาต 105 เตียง

    มีทุนจดทะเบียน 375 ล้านบาท ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ การขยายฐานลูกค้ากลุ่มประกันสังคม เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรม และเพิ่มรายได้จากการส่งต่อผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาลในเครือของบริษัท

  5. นายแว่นธรรมดา NaiwaenTammada
    นายแว่นธรรมดา NaiwaenTammada says:

    'CHG'โค้งแรกโตเกิน10% เฟ้นหาพันธมิตรลุยCLMV
    CHG เปิดกว้างพันธมิตรรุกธุรกิจโรงพยาบาลโซนชายแดน ปูทางตลาด CLMV พร้อมควักงบ 1.1 พันล้านบาท ปรับปรุง-ต่อยอดธุรกิจเต็มสูบ หวังรับผู้ป่วยเป็น 630 เตียงในปี 2560 ส่งซิก Q1/2557 รายได้โตเหนือ 10% 10% ฐานลูกค้าขยายต่อเนื่อง

Comments are closed.