5 แนวคิดทฤษฏีการลงทุนหุ้นเติบโตของ ฟิลิป ฟิชเชอร์ ในยามตลาดหุ้นผันผวน

5 แนวคิดทฤษฏีการลงทุนหุ้นเติบโตของ ฟิลิป ฟิชเชอร์ ในยามตลาดหุ้นผันผวน

ฟิชเชอร์

ฟิลิป ฟิชเชอร์ ผู้วางแนวคิดลงทุนในหุ้นเติบโต และใช้ได้ผลเป็นอย่างดีสำหรับตลาดหุ้นในยุคที่มีความผันผวนสูงอย่างในอดีตที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันการลงทุนแนวนี้ยังสามารถใช้ได้ดีเหมือนในอดีตอีกหรือไม่ ลงติดตาม 5 แนวคิดทฤษฏีการลงทุนหุ้นเติบโตของ ฟิลิป ฟิชเชอร์ ในยามตลาดหุ้นผันผวนกันเลยครับ

49_philip

1.แนวคิดการใช้ทฤษฏีแกะรอยหุ้น หรือ Scuttlebutt อันโด่งดัง

สำหรับแนวคิดการใช้ทฤษฏีแกะรอยหุ้น หรือ Scuttlebutt อันโด่งดังนั้น วิธีการก็คือ การหาข้อมูลหุ้นจากข่าวซุบซิบเกี่ยวกับหุ้นที่เราสนใจ สำหรับแนวคิดนี้ ฟิลิป ฟิชเชอร์ จะแกะรอยจากการไปสัมภาษณ์คนใช้สินค้า และบริการของกิจการที่น่าสนใจ และฟังสิ่งที่ผู้คนพูดถึงกิจการเหล่านั้น จากนั้นก็ล้วงลึกเข้าไปถึงตัวพนักงานในบริษัทต่างๆ การบริหารจัดการภายในกิจการ แม้กระทั่งสัมภาษณ์ตัวผู้บริหารเอง แต่ข้อมูลที่มีค่าส่วนใหญ่มักมาจากคู่แข่งทางการค้ามากกว่าตัวเจ้าของโดยตรง เนื่องจากเจ้าของเองนั้นมักจะมองกิจการตนเองในแง่ดีเสมอ การใช้แนวคิดแกะรอยหุ้นนี้สามารถทำให้เราเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง มากกว่าการมองแค่ตัวเลขบนกระดาษ หรือมองกราฟแนวโน้มราคาหุ้นแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้การลงทุนของเราแม่นยำขึ้น และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2.แนวคิดการประเมินมูลค่าหุ้นเชิงคุณภาพ มากกว่าการประเมินเชิงปริมาณ

สำหรับ ฟิลิป ฟิชเชอร์ การประเมินมูลค่าหุ้นเชิงคุณภาพมีความสำคัญกว่าการประเมินมูลค่าเชิงปริมาณที่ดูแต่ตัวเลขทางการเงินแต่เพียงอย่างเดียว โดยวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นเชิงคุณภาพนั้นต้องอาศัยประสบการณ์การมองธุรกิจไปข้างหน้าอย่างทะลุปรุโปร่ง ผู้ที่จะประเมินมูลค่าหุ้นเชิงปริมาณได้อย่างแม่นยำต้องเป็นคนที่ศึกษาโมเดลธุรกิจ หรือ Business Model มาอย่างโชกโชน ต้องวิเคราะห์ และมองภาพกว้างออก มองเห็นอนาคตของกิจการ มองเห็นว่าจะมีผู้มาใช้สินค้าและบริการเป็นจำนวนมากในอนาคต ทำให้ตัวเลขทางการเงินดีขึ้นเองจากสินค้า และบริการที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

1423397795-PhilipFish-o

3.แนวคิดการมองภาพการเติบโตของรายได้ หรือ Revenue Growth Rate

การมองเห็นภาพการเติบโตของรายได้ และแนวโน้มที่เกิดขึ้นของ ฟิลิป ฟิชเชอร์ เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญของนักลงทุนในหุ้นเติบโต รายได้ที่เติบโตขึ้นจนถึงจุดที่รายจ่ายโตไม่ทันนั้นจะทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นได้ไม่ยาก แต่ทว่าการเติบโตของรายได้นั้นเราต้องพิจารณาต้นทุนการขายสินค้าประกอบด้วย ถ้ารายได้โต แต่ต้นทุนโตตามอย่างรวดเร็ว แบบนี้นักลงทุนต้องระมัดระวังให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน

4.แนวคิดการลงทุนในขอบข่ายความรู้ของตนเอง หรือ Circle of Competent

สำหรับแนวคิดนี้แม้แต่ วอเรนต์ บัฟเฟตต์ นักลงทุนระดับโลกยังปรับไปใช้ ในการลงทุนหุ้นเติบโตนั้นมีความเสี่ยงที่แฝงเอาไว้เป็นจำนวนมาก ความเสี่ยงที่หุ้นตัวนั้นอาจไม่เติบโตอย่างที่เราคิด อาจเป็นเพราะประสบการณ์ลงทุนของเราเองยังไม่มากพอ ดังนั้นการซื้อหุ้นที่เรา “เข้าใจ” หรือ อยู่ในขอบข่ายความรู้ของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญ และสำคัญมากที่สุด แม้แต่ วอเรนต์ เองก็ยังไม่คิดซื้อหุ้นที่เขาไม่เข้าใจ อย่างหุ้นประเภทเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และนั่นคือสิ่งที่นักลงทุนต่างเข้มงวดกับกฎเกณฑ์ดังกล่าวเสมอมา

warren-buffett-2010-1-18-17-27-38

5.แนวคิดการถือหุ้นตลอดชีวิต

ฟิลิป ฟิชเชอร์ เองเคยกล่าวประโยคทองไว้ว่า “หากคุณพบหุ้นที่ใช่ ระยะเวลาในการถือหุ้นก็คือ ตลอดชีวิต” คำกล่าวนี้ถือว่าทำได้ยากมาก หุ้นที่ใช่และสามารถถือไปจนตลอดชีวิตมีน้อยมากเช่นกัน แต่ถ้าจะให้ยกตัวอย่างก็พอมี อันได้แก่ หุ้นโคคาโคล่า ที่วอเรนต์ บัฟเฟตต์ ถือมาอย่างยาวนานหลายสิบปี ราว 40 ปีขึ้นไปเห็นจะได้ หุ้นตัวนี้วอเรนต์ถือตั้งแต่ราคาหุ้นยังเป็นตัวเลขหลักเดียว และผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านมรสุมมากอย่างโชกโชน จนในปัจจุบันได้สร้างผลกำไรให้กับวอเรนต์มากหมายมหาศาล หากคุณเจอมันก็ควรเก็บไว้ตลอดชีวิตดังคำแนะนำของ ฟิลิป ฟิชเชอร์

ไม่มีเวลาอ่านฟังในรูปแบบคลิ๊ปเสียง “คลิ๊กที่นี่”

home