LHBANK กับพันธมิตรใหม่ #จับประเด็นเล่นหุ้น ทำเงินให้งอกเงย

LHBANK กับพันธมิตรใหม่ #จับประเด็นเล่นหุ้น ทำเงินให้งอกเงย

การที่กิจการใดกิจการหนึ่งจะหาพันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมลงทุนต้องมีการศึกษาซึ่งกันและกันมายาวนาน และต้องมั่นใจว่าเข้ากันได้ นำพาไปด้วยกันได้ และส่งเสริมซึ่งกันและกันจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

นายแว่นธรรมดา

LHBANK กับพันธมิตรใหม่

หุ้น LHBANK กับพันธมิตรใหม่ นั้นเป็นหนึ่งดีลในช่วงจังหวะเวลานี้ที่น่าติดตามทีเดียว เนื่องจาก บริษัท LHBANK ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสัญญาจองซื้อหุ้น (MOU in relation to Share Subscription Agreement) กับ CTBC Bank Co., Ltd. (“CTBC”) ในการเป็น พันธมิตรร่วมทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจทางการเงินแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ซึ่งเป็นการตกลงในหลักการที่จะออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 7,544,961,342 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 35.6169 ของ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เพื่อเสนอขายต่อ CTBC อันเป็นการเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ในราคา 2.20 บาทต่อหุ้น และจะทำการตรวจสอบสถานะของกิจการ (Due Diligence) ซึ่งปัจจุบัน CTBC ได้ตรวจสอบสถานะของกิจการ (Due Diligence) เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วและได้ร่วมลงนาม ในสัญญาจองซื้อหุ้น (Share Subscription Agreement) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559

LHBANK CTBC

โดยหุ้นเดิมของ LHBANK นั้นมีอยู่ราว 1.368 หมื่นล้านหุ้น ถ้าบวกหุ้นใหม่ประมาณ 7,544 ล้านหุ้นจะมีหุ้นใหม่รวมเป็น 21,182 ล้านหุ้น ดูแล้วมีหุ้นมาหารกำไรเพิ่มขึ้นอีกมากเหมือนกัน

ประเด็นที่น่าสนใจของ LHBANK

ประเด็นแรก สินเชื่อโตต่ำเป็นประวัติการแค่ 0.3% เมื่อเทียบกันกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่พอร์ตเงินฝากกลับโตกว่า 6.4% เทียบแบบเดียวกัน หมายความว่าส่วนต่างดอกเบี้ยจะลดลง โดยตอนนี้ลดลงเหลือ 2.25% เท่านั้น ถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่ใกล้เคียง

ประเด็นที่สอง LHBANK มีกำไรเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบสามไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว โดยบางสำนักให้กำไร LHBANK ปีนี้เกือบแตะสามพันล้านบาท ปัจจุบันกำไรราว 2000 ล้านบาท เป็นกำไรหลักๆ ที่มาจากการลงทุน อันนี้ต้องระวัง เพราะไม่ใช่กำไรจากการเก็บดอกเบี้ย หรือทำมาหากินทางตรงจริงๆ แต่ถ้าคิดกำไรต่อหุ้นปีนี้ก็น่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้วพอสมควร

ประเด็นที่สาม พันธมิตรที่ทาง LHBANK ขาย PP จะนำหุ้นมารวมในไตรมาสสี่ รวมเป็น 2.1 หมื่นล้านหุ้นจากเดิมมีเพียง 1.3 หมื่นล้านหุ้น ทำให้แม้กำไรจะเพิ่มขึ้น แต่กำไรต่อหุ้นคงไม่เพิ่มขึ้นมากมายอะไร ลองคิดเล่นๆ ก็ได้ว่ากำไรต่อหุ้นน่าจะพอๆ กับกำไรต่อหุ้นในปัจจุบัน (คำเตือน เป็นตัวเลขคาดการณ์เท่านั้นไม่สามารถนำไปอ้างอิงสำหรับการลงทุนได้) ที่คำนวณเพื่อให้เห็นภาพว่ากำไรที่เพิ่มขึ้นไม่ทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเท่าไร และกำไรในไตรมาสล่าสุดอาจเข้าข่ายเป็น “กำไรพิเศษ” ที่ไม่รู้ว่าจะมีในครั้งต่อไปหรือไม่ พิจารณากันดู

ดูวอลุ่มการซื้อขายประกอบการตัดสินใจ

ผมลองเข้าไปดูผู้ถือหุ้นของ LHBANK แล้วพบว่า % การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (% Free float) 26.41% เท่านั้น ถ้าคิดจาก Mcap ปัจจุบันโดยตัดเอาปัจจัยหุ้นใหม่ที่จะเข้ามาร่วมทุนพบว่าปริมาณซื้อขายหมุนเวียนในปัจจุบันตกแค่ 6 พันกว่าล้านบาท ดูกราฟประกอบ

LHBANK

สำหรับสมาชิกเว็บอ่านบทความเพิ่มเติมแบบ Exclusive กรุณา Login หรือสมัครสมาชิกที่นี่ “คลิ๊กเพื่อสมัครสมาชิก” [hide for=”!logged”] 

จากกราฟจะเห็นว่าวอลุ่มของ LHBANK เคยสูงกว่า 400 ล้านบาท (ข้อมูลในรอบหกเดือน) และสามารถดันราคาหุ้นไปได้เกิน 2 บาทต่อหุ้น ในขณะที่วอลุ่มการซื้อขายในปัจจุบันตกเฉลี่ยแค่ 60 กว่าล้าน กับปริมาณหุ้นที่หมุนเวียนอยู่ 6 พันล้าน ต้องใช้เวลาราว 100 วัน นั่นคือ นักเก็งกำไรถือหุ้นตัวนี้ไม่นาน แค่ 100 วันก็มีการซื้อขายทำกำไรกันแล้ว รอบสั้นแบบนี้ควรระวัง แต่ก็เหมือนว่ามีแววจะมีการกระโดดขึ้นของราคาได้ไม่ยาก เนื่องจากปริมาณหุ้นหมุนเวียนที่ค่อนข้างจะน้อยนั่นเอง

ข้อสรุปก็คือ

ข้อสรุปของการเล่นหุ้น LHBANK ก็คือ หุ้นตัวนี้อาจจะหมดรอบเล่นไปแล้วหรือยัง? เนื่องจากปริมาณหุ้นหมุนเวียนที่ผมได้ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์เป็นข้อมูลเดือนมีนาคม และเราจะเห็นปริมาณการซื้อขายพุ่งขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมาพร้อมดันราคาไปเกิน 2 บาทต่อหุ้นได้สบายๆ และสิ่งที่ต้องระวังก็คือ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิไตรมาสที่3ของปี 2559 มีจำนวน 530.5ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 263.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสที่3ของปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 98.7 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยสุทธิ ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิกำไรจากเงินลงทุน และรายได้เงินปันผล เพราะรายได้และกำไรในส่วนนี้ไม่ได้มากจากรายได้หลัก

และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้าเกินคาด แถมมีความเสี่ยงที่ลูกค้าสินเชื่อรายใหญ่จะคืนเงินกู้ก่อนกำหนดด้วยการออกหุ้นกู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้งธุรกิจปริวรรตเงินตรา (FX) ของธนาคารมีความเสี่ยงมากขึ้นหากค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องอย่างรวดเร็วทําให้อาจเกิดผลขาดทุนจากธุรกิจดังกล่าว

[/hide]

ไม่มีเวลาอ่านฟังในรูปแบบคลิ๊ปเสียง “คลิ๊กที่นี่”

คำเตือน การวิเคราะห์หุ้น การลงทุนรูปแบบต่างๆ และเทคนิคการลงทุนในหุ้นเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร ผู้เขียนบทความไม่รับผิดชอบต่อความเสี่ยง หรือความเสียหายในการลงทุนของผู้รับข้อมูลนะครับ

#‎หนังสือน่าอ่าน‬ เจาะหุ้น VI เกาะกระแสเมกะเทรนด์

กระแสเมกะเทรนด์ในยุคใหม่มีอะไรบ้าง และเราจะลงทุนอย่างไรให้เกาะไปกับกระแส เพื่อไม่ให้ตกรถ หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าประสบการณ์ลงทุนในหุ้น จะทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับหุ้นที่เราไม่รู้จัก และปลอดภัยจากการลงทุนได้มากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

หน้าปก เจาะหุ้นวีไอเกาะกระแสเมกะเทรนด์

บทนำ “จุดเริ่มต้นของการลงทุนแนววีไอ”
บทที่ 1 เลือกหุ้นอย่างไรให้ปลอดภัย
บทที่ 2 เจาะหุ้นเหล็ก
บทที่ 3 ยุคแห่งพลังงานสะอาด และเมกะเทรนด์โรงไฟฟ้า
บทที่ 4 บทเรียนหุ้นพลังงานทดแทน
บทที่ 5 เจาะแก่นหุ้นเล็กโตไว
บทที่ 6 วีไอซื้อหุ้นต้องดูอะไรบ้าง?
บทที่ 7 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์
บทที่ 8 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นรถไฟฟ้า และหุ้นคอนโดมิเนียม

ติดตามได้ที่นี่เลยครับ “คลิ๊กเพื่อเข้าสู่หนังสือ”