ทำไมรายย่อยเล่นหุ้นมักจะขาดทุนมากกว่ากำไร

ทำไมรายย่อยเล่นหุ้นมักจะขาดทุนมากกว่ากำไร

คำกล่าวที่ว่า… “ในระยะยาว” 20% ของคนในตลาดหุ้นจะมีกำไร แต่คนอีก 80% จะขาดทุน และคนส่วนใหญ่ที่ขาดทุนจะเป็นรายย่อย เป็นจริงเสมอหรือไม่?

ทำไมรายย่อยเล่นหุ้นมักจะขาดทุนมากกว่ากำไร เป็นคำถามที่นักลงทุนรายย่อยหลายคนสนใจอยากรู้คำตอบ ที่จริงแล้วรายย่อยที่ขาดทุนมีมากกว่า 80% เสียด้วยซ้ำ แต่อย่างว่า “คนตายไม่ได้พูด” คนที่ต้องออกจากตลาดหุ้นไปเงียบๆ ไปเลียแผลมีจำนวนไม่น้อย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น มาติดตามกัน

รายย่อย

            ประการแรก “รายย่อยมักซื้อหุ้นด้วยความโลภ ขายหุ้นด้วยความกลัว”

ประเด็นแรกๆ ที่ทำให้เราขาดทุนมักเกิดจากการที่เราซื้อหุ้นด้วยความโลภ ขายหุ้นด้วยความกลัว ความหมายของการซื้อหุ้นด้วยความโลภก็คือ การที่เราซื้อหุ้นราคาแพงเพราะหวังว่าจะไปขายต่อในราคาแพงกว่า และนั่นคือเราตกเป็นเหยื่อรายใหญ่ที่คอยปล่อยของใส่มือรายย่อย วิธีแก้ก็คือ เราต้องลงทุนในหุ้น ซื้อหุ้นให้เหมือนเป็นเจ้าของกิจการ เล่นยาว ไม่เล่นสั้น เล่นสั้นก็ทำเพียง “สนุกๆ” ไม่จริงจังก็พอv

และความหมายของการขายหุ้นด้วยความกลัว ก็คือ เมื่อหุ้นตกต่ำกว่าสิ่งที่เรียกว่า “ราคาเชิงจิตวิทยา” เรามักจะตกใจกลัวและขายทิ้ง ยกตัวอย่างเช่น หุ้นตัวหนึ่งยืนราคา 5 บาทมาเป็นปี วันดีคืนดีตกลงไปเหลือ 3 บาท คงมีน้อยคนจะไม่กลัว และตกใจขายทิ้ง ก็จะเข้าทางคนที่มาเก็บหุ้นราคาถูก

เคล็ดไม่ลับของหลายใหญ่ก็คือ เขาจะทำตรงข้ามกับรายย่อย คือซื้อเมื่อกลัว และขายเมื่อรู้สึกโลภ สิ่งนี้พูดง่ายแต่ทำยากมาก และผลลัพธ์ก็เป็นอย่างที่เห็นกันอยู่

            ประการที่สอง “รายย่อยซื้อหุ้นโดยไม่คำนวณราคาที่เหมาะสมก่อน หรือคำนวณไม่เป็น”

เรื่องราวของราคาที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของการเล่นหุ้น หลายคนซื้อหุ้นโดยไม่คำนวณราคาที่เหมาะสมก่อน หรือคำนวณไม่เป็น วิธีวัดมูลค่าหุ้นลองติดตามที่นี่ “คลิ๊กอ่าน” การที่เราไม่รู้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นก็เหมือนเรา “ตาบอดคลำช้าง” หมายความว่า เรามองไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด ใช้ภาพเพียงบางส่วนในการตัดสินใจซื้อหุ้น และนั่นคือ “หายนะ”

            ประการที่สาม “รายย่อยติดหุ้นแล้ว Cut Loss ไม่เป็น”

หลายคนคิดจะเข้ามาเก็งกำไรหุ้น แต่พอติดหุ้นก็กลายเป็น “วีไอจำเป็น” หมายความว่าติดหุ้นแล้วก็ทนถืออยู่อย่างนั้น รายย่อยติดหุ้นแล้ว Cut Loss ไม่เป็น และนั่นคือ อีกหนึ่งหายนะที่ทำให้รายย่อยขาดทุนซ้ำซาก และไม่ก้าวไปข้างหน้า บางครั้งหุ้นดีก็จริง แต่ยังไม่ถึงรอบของมัน การที่เราติดหุ้นเอาไว้โดยเงินที่จะซื้อหุ้นของเรามีอย่างจำกัด ทำให้เราเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ทำแบบนี้นอกจากจะอึดอัดแล้ว ยังทำให้เราขยับไปไหนไม่ได้เลย ยกเว้นเสียว่าคุณเป็นวีไอจริงๆ และต้องการถือเพื่อรับเงินปันผล

            ประการสุดท้าย “ไม่ศึกษาหาความรู้”

การศึกษาหาความรู้ต้องทำตลอดเวลา คนที่คิดว่าเรารู้ทุกเรื่องแล้ว เป็นน้ำเต็มแก้ว นั่นคือจุดเริ่มต้นของหายนะ รายย่อยบางคนคิดว่าตนเองเก่งแล้ว ไม่ยอมศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซ้ำร้ายยัง “ล้างครู” คือวิพากษ์วิจารณ์ ครูผู้เคยสอนเราให้เล่นหุ้นเป็นเสียหมดท่า ทำแบบนี้นอกจากจะดูก้าวร้าวแล้วยังเป็นเหมือนดั่งน้ำที่เต็มแก้ว รินอะไรเข้าไปใหม่ก็ล้นแก้วออกมา

นักลงทุนผู้มากประสบการณ์ และเก่งจริงมันจะ “ถ่อมตน” อ่อนน้อม อ่อนโยน แต่ไม่ได้อ่อนแอ แข็งแกร่ง แต่ไม่ได้แข็งกระด้าง รายย่อยบางคนข้างนอก “แข็งกร้าว” แต่ภายในแสนจะอ่อนแอ และต้องหลบไปเลียแผลประจำ อย่าให้ตัวเราเป็นแบบนั้น จงหล่อหลอมตนด้วยความอ่อนน้อม และอ่อนโยน เป็นน้ำครึ่งแก้วที่พร้อมจะศึกษาสิ่งใหม่ๆ ปรับปรุง และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอจะดีกว่าครับ

phy

นายแว่นธรรมดา

ไม่มีเวลาอ่านฟังในรูปแบบคลิ๊ปเสียง “คลิ๊กที่นี่”

คำเตือน การวิเคราะห์หุ้น การลงทุนรูปแบบต่างๆ และเทคนิคการลงทุนในหุ้นเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร ผู้เขียนบทความไม่รับผิดชอบต่อความเสี่ยง หรือความเสียหายในการลงทุนของผู้รับข้อมูลนะครับ

อยากมีบ้านหลังแรก www.topofliving.com
https://www.facebook.com/topofliving/
.
เรื่องหุ้นไว้ใจผม www.naiwaen.com

ad-300-200

#‎หนังสือน่าอ่าน‬ เจาะหุ้น VI เกาะกระแสเมกะเทรนด์

กระแสเมกะเทรนด์ในยุคใหม่มีอะไรบ้าง และเราจะลงทุนอย่างไรให้เกาะไปกับกระแส เพื่อไม่ให้ตกรถ หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าประสบการณ์ลงทุนในหุ้น จะทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับหุ้นที่เราไม่รู้จัก และปลอดภัยจากการลงทุนได้มากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

หน้าปก เจาะหุ้นวีไอเกาะกระแสเมกะเทรนด์

บทนำ “จุดเริ่มต้นของการลงทุนแนววีไอ”
บทที่ 1 เลือกหุ้นอย่างไรให้ปลอดภัย
บทที่ 2 เจาะหุ้นเหล็ก
บทที่ 3 ยุคแห่งพลังงานสะอาด และเมกะเทรนด์โรงไฟฟ้า
บทที่ 4 บทเรียนหุ้นพลังงานทดแทน
บทที่ 5 เจาะแก่นหุ้นเล็กโตไว
บทที่ 6 วีไอซื้อหุ้นต้องดูอะไรบ้าง?
บทที่ 7 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์
บทที่ 8 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นรถไฟฟ้า และหุ้นคอนโดมิเนียม

ติดตามได้ที่นี่เลยครับ “คลิ๊กเพื่อเข้าสู่หนังสือ”

อ่านหุ้นที่เกี่ยวข้อง และหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ “คลิ๊กเลย”