วัดมูลค่าหุ้น ไม่ยาก การวัดมูลค่าหุ้นด้วยอัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ตอนที่ 2

คราวที่แล้วเราได้บอกกล่าวถึงเรื่องราวของการวัดมูลค่าหุ้นด้วย อัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น มากคราวนี้เรามาศึกษาข้อควรระวังของการวัดมูลค่าหุ้นด้วยอัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น หรือ ROE กันบ้างครับ

อัตรา ส่วนที่นักลงทุนนิยมใช้ และสามารถหาได้จากหลายแหล่งข้อมูลคือ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น หรือ Return on Equity, ROE อัตราส่วนนี้ หาได้ง่ายๆจากสูตรนี้

ROE (Return on Equity) = Net income / Share holder’s Equity 

หรือ = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น

โดยปกติแล้ว ROE ควรจะมีค่าสูงกว่า ROA (Return On Assets) สำหรับค่า ROA เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ของบริษัท โดยคำนวณจาก Net Income/Total Assets

สำหรับสินทรัพย์สุทธิ (Total Assets) ของบริษัทนั้นประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและส่วนของหนี้สิน ค่า ROA นี้ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุน หากค่า ROA ของบริษัทต่ำกว่า 5% นักลงทุนมืออาชีพมักจะไม่ให้ความสนใจกับบริษัทนั้น ในกรณีทั่วไปที่บริษัทมีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ค่า ROE ควรสูงกว่า ROA แต่ในหลายบริษัทที่มีภาระดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยจ่าย) มากๆ เราอาจเห็น ROA มากกว่า ROE ซึ่งไม่เป็นเรื่องผิดปกติแต่ประการใด

ROE คืออะไรROE ควรสูงเท่าไรจึงจะดี

สำหรับ ROE ที่ดีควรสูงกว่า 15% และเป็นการสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี หรือรักษาระดับของอัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่สูงแบบนี้อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามถ้าเราเห็นหุ้นบางตัวมี ROE สูงต่อเนื่อง แต่เกิดกับบริษัทปันผลออกมาทั้งหมดของกำไรที่ทำได้ แบบนี้หุ้นตัวนี้อาจเข้าข่ายหุ้นที่ธุรกิจถึงอิ่มตัวเลยไม่ต้องนำเงินไปลงทุนเพิ่มก็ได้ และยังมีกรณีที่ควรระวังก็คือการที่บริษัทอยากให้ค่า ROE ดูดี หรือสูงอย่างสม่ำเสมอ จึงทำการจ่ายปันผลออกมาเยอะๆ แต่เงินที่จ่ายออกมานั้นอาจไม่ได้มาจากการทำธุรกิจ หรือมาจากการกู้ยืมเงินมาจ่ายปันผล แบบนี้ควรระมัดระวังครับ สำหรับผมแล้วจะดีกว่ามากหากการจ่ายปันผลนั้นมาจากกำไรของบริษัทที่ทำได้จริงๆ ผมชอบแบบนี้มากกว่าครับ

สำหรับหุ้นที่มีการรักษา ROE ในระดับสูงได้นานๆ แสดงว่าการเติบโตของกำไรในระยะยาวจะต้องสูงด้วย และหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรระยะยาวสูงต่อเนื่อง ก็เป็นธรรมดาที่ผู้ถือหุ้นจะมีความมั่งคั่งสูง ยิ่งสามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอยิ่งน่าสนใจ เปรียบเสมือนกับเรามีฟาร์มห่านที่ออกไข่ทองคำให้เราเป็นประจำ แบบนี้ไม่รักไม่ได้แล้วล่ะครับ

ไว้คราวต่อๆ ไปเราจะมาหาวิธีการวัดมูลค่าหุ้นแบบต่างๆ อีก พบกันใหม่คราวหน้านะครับ

(นายแว่นธรรมดา)