ทำไมความคิดที่ว่า … “ซื้อถูกขายแพง” จึงเป็นความคิดที่แย่ในสายตาของนักลงทุนระยะยาว

ทำไมความคิดที่ว่า … “ซื้อถูกขายแพง” จึงเป็นความคิดที่แย่ในสายตาของนักลงทุนระยะยาว

“ซื้อถูกขายแพง” เป็นความคิดในระดับวงกว้างที่เข้าไปอยู่ในหัวของนักเล่นหุ้นจำนวนมาก และมีมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “แรงดึงดูด” ของความคิดดังกล่าวดึงให้นักลงทุน นักเล่นหุ้น ต้องตกอยู่ภายใต้อธิพลของแนวคิดนี้ ดวงดาวที่ชื่อว่า “ซื้อถูกขายแพง” และเหยื่อหลายคนก็ตกอยู่ในวังวนนี้อย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว

แต่ทำไมความคิดที่ว่า … “ซื้อถูกขายแพง” จึงเป็นความคิดที่แย่ในสายตาของนักลงทุนระยะยาว ในสายตาของนักลงทุนระยะยาวมองเห็นอะไรกันแน่ จึงไม่ตกอยู่ภายใต้แรงดึงดูดของดาวดวงนี้ มาหาคำตอบกัน

นายแว่นธรรมดา หาหุ้นทำเงิน

            อย่างแรก “ความคิดว่า… ซื้อถูกขายแพง มักทำให้เราโลภมาก”

เหตุผลข้อแรกก็อาจจะกระแทกใจใครหลายคน โดยเฉพาะนักเล่นหุ้นที่ชอบซื้อๆ ขายๆ หุ้น การซื้อๆ ขายๆ หุ้นด้วยความโลภนั้นไม่ได้ช่วยอะไรเลย แต่กลับเพิ่มค่าคอมมิชชั่นให้กับโบรกเกอร์ นั่นเป็นประโยชน์มหาศาลกับโบรกเกอร์ที่คอยดักกินค่าคอมมิชชั่นจากคนเทรดหุ้น มันเหมือนกับเราถูกสะกดจิตให้มีความเชื่อว่าเราต้องทำอะไรซักอย่างกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้ และความคิดที่อยากซื้อถูกขายแพงนั้นก่อให้เกิดความโลภมหาศาลในใจนักเล่นหุ้น และนั่นไม่ใช่เรื่องดีเลย

หลายคนคงเคยได้ยินนิทาน หมากับเงา ที่คาบก้อนเนื้อไว้ในปาก แต่เห็นว่าเงาของก้อนเนื้อในน้ำนั้นน่าสนใจกว่า ทำให้ก้อนเนื้อจริงๆ หลุดลงน้ำ เพราะอยากไปคาบ “เงา” ของก้อนเนื้อนั้นแทน มันก็ไม่ต่างอะไรกับนักเล่นหุ้นที่หวังว่าจะไปขายแพง ไปไล่ตามเงาของราคาหุ้นนั่นเอง

อย่างที่สอง “ความคิดนี้ดึงดูดเราเข้าสู่ Zero Sum Game

ความคิดที่ว่า “ซื้อถูกขายแพง” มันมีแรงดึงดูดมหาศาล และดึงดูดผู้คนจำนวนมากเข้าสู่วังวนแห่งการเก็งกำไร ซึ่งในวังวนนี้เป็นสถานที่ที่น้อยคนจะรอดตาย มันเหมือนกับเกมที่มีทรัพยากรเท่าเดิม แต่คนต้องแก่งแย่งชิงดีกัน มีคนได้ ต้องมีคนเสีย หรือ Zero Sum Game นั่นเอง

BOOK NAIWAENTAMMADAในเกมๆ นี้คนที่ชนะมีน้อยมาก คนส่วนใหญ่จะตกเป็นเหยื่อ นักเล่นหุ้นบางคนเล่นหุ้นมาเป็นสิบกว่าปีก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตการลงทุนเหมือนอย่างที่ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นได้เลย และยังไม่มีวี่แววใดๆ ทั้งสิ้น แต่กลับคิดว่าจะประสบความสำเร็จใน Zero Sum Game นี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากๆ พอทำเข้าบ่อยๆ มันเลยกลายเป็นนิสัยที่เปลี่ยนยาก และต้องตกอยู่ในวงวนแห่งนี้ไปอีกนานแสนนาน

อย่างที่สาม “ความคิดนี้ทำให้เราพลาดโอกาสซื้อหุ้นดีไปอย่างน่าเสียดาย”

นักเล่นหุ้นที่เล่นหุ้นมานานด้วยการซื้อๆ ขายๆ และยังไม่ประสบความสำเร็จ คงเคยเห็นหุ้นหลายตัวที่ต้องบอกว่า “ขึ้นคาตา” หุ้นค้าปลีกบางตัวขึ้นจาก 3-5 บาท มาในปัจจุบันมีราคาเกิน 60 บาทต่อหุ้นไปแล้ว หุ้นสื่อสารบางตัวก็มีราคาปรับตัวขึ้นเป็นสามหลักก็มี สิ่งเหล่านี้ถ้าเราย้อนเวลาไปทุ่มเงินซื้อหุ้นคุณภาพดี โดยไม่สนใจที่จะเก็งกำไร แต่คิดจะถือระยะยาวเนื่องจากเราวิเคราะห์กิจการมาเป็นอย่างดีแล้ว ในวันนี้เราก็จะได้ชื่นชมกับปลายทางแห่งความสำเร็จกันไปแล้ว แต่สำหรับนักเล่นหุ้น เก็งกำไร ปลายทางนั้นอาจจบไม่สวย ถึงจะมีคนทำได้ก็น้อยรายเหลือเกิน

อย่าพลาดโอกาสดีๆ ในการสะสมหุ้นคุณภาพดีๆ โดยไม่ต้องไปคาดหวังว่าจะ “ซื้อถูกขายแพง” ย้ายตัวเองไปสู่ดาวดวงใหม่ คือดาวแห่งหุ้นคุณภาพ หุ้นคุณภาพไม่จำเป็นต้องราคาถูกแบกันดินเสมอไป หุ้นดีๆ ในราคาที่เหมาะสม ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว อย่าให้เม็ดเงินอันแสนมีค่าของเราต้องเสียไปกับหุ้นเก็งกำไรไร้ค่าแต่กลับขายฝัน ขายความคาดหวังลมๆ แล้งๆ อีกต่อไปเลยครับ

อ่านหุ้นรถไฟฟ้าเพิ่มเติม “คลิ๊กเพื่ออ่าน”

คำเตือน การวิเคราะห์หุ้น การลงทุนรูปแบบต่างๆ และเทคนิคการลงทุนในหุ้นเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร ผู้เขียนบทความไม่รับผิดชอบต่อความเสี่ยง หรือความเสียหายในการลงทุนของผู้รับข้อมูลนะครับ

#‎หนังสือน่าอ่าน‬ เจาะหุ้น VI เกาะกระแสเมกะเทรนด์

กระแสเมกะเทรนด์ในยุคใหม่มีอะไรบ้าง และเราจะลงทุนอย่างไรให้เกาะไปกับกระแส เพื่อไม่ให้ตกรถ หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าประสบการณ์ลงทุนในหุ้น จะทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับหุ้นที่เราไม่รู้จัก และปลอดภัยจากการลงทุนได้มากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

หน้าปก เจาะหุ้นวีไอเกาะกระแสเมกะเทรนด์

บทนำ “จุดเริ่มต้นของการลงทุนแนววีไอ”
บทที่ 1 เลือกหุ้นอย่างไรให้ปลอดภัย
บทที่ 2 เจาะหุ้นเหล็ก
บทที่ 3 ยุคแห่งพลังงานสะอาด และเมกะเทรนด์โรงไฟฟ้า
บทที่ 4 บทเรียนหุ้นพลังงานทดแทน
บทที่ 5 เจาะแก่นหุ้นเล็กโตไว
บทที่ 6 วีไอซื้อหุ้นต้องดูอะไรบ้าง?
บทที่ 7 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์
บทที่ 8 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นรถไฟฟ้า และหุ้นคอนโดมิเนียม

ติดตามได้ที่นี่เลยครับ “คลิ๊กเพื่อเข้าสู่หนังสือ”