#หุ้นวัฏจักร : หุ้นพลาสติก กับวัฏจักรขาขึ้น จริงหรือไม่?

#หุ้นวัฏจักร : หุ้นพลาสติก กับวัฏจักรขาขึ้น จริงหรือไม่?

หุ้นวัฏจักรเป็นหุ้นที่ถ้าเราลงทุนเป็น โอกาสจะได้กำไรมากๆ ก็เป็นไปได้สูง แต่ถ้าลงทุนไม่เป็นโอกาสที่จะเสียหายก็สูงมากเช่นกัน ที่ผ่านมาในช่วงปลายปี 2559 ราคายางพาราปรับตัวขึ้นจาก 40 บาทต่อกิโลกรัม มาเป็น 80 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้หุ้นยางพาราขยับปรับขึ้นมามาก เพราะ ราคายางช่วงปลายปีปรับตัวเด้งขึ้นแรงมาก โดยชาวต่างชาติเข้ามากว้านซื้อยางพาราบ้านเรา ทำให้ยางพาราขาดตลาด แต่หลังจากนี้ราคายางอาจจะร่วงลงบ้าง สาเหตุเพราะค่าเงินบาทไทยเราอ่อนค่าลงไป เนื่องจากสหรัฐประกาศขึ้นดอกเบี้ยนั่นเอง

อย่างไรก็ตามหุ้นที่ยังเป็นแถวสองและยังไม่ขยับปรับขึ้นมากก็ยังมีอยู่ หุ้นที่จะนำมาสรุปให้อ่านในครั้งนี้คือ หุ้นพลาสติก ลองติดตามกันดูว่าหุ้นตัวนี้เข้าวัฏจักรขาขึ้นแล้วหรือยัง ติดตามกันเลยครับ

tumblr_o6nnyriAcM1tubinno1_1280

หุ้นพลาสติกที่น่าสนใจมีตัวไหนบ้าง

สำหรับหุ้นพลาสติกที่น่าสนใจคงหนีไม่พ้น 3 หุ้นในตำนาน ได้แก่ IVL PTL AJ หุ้นสามตัวนี้มีความเหมือนในความแตกต่างกัน สำหรับ IVL จะผลิตผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ และ PTL จะเน้นพลาสติกจำพวก PET ส่วน AJ จะเน้นพลาสติกจำพวก PP และใช้บรรจุในอุตสาหกรรมอาหาร บทความนี้ขอแนะนำหุ้น AJ ก็แล้วกันครับ

ข้อมูลทั่วไป

สายการผลิต ของ AJ แบ่งออกได้ดังนี้

– แผ่นฟิล์ม BOPP 4 สาย (132,000 ตันต่อปี)

– แผ่นฟิล์ม BOPET 2 สาย (62,000 ตันต่อปี)

– แผ่นฟิล์ม BOPA 2 สาย (18,000 ตันต่อปี)

– แผ่นฟิล์ม CPP 1 สาย (16,000 ตันต่อปี)

– แผ่นฟิล์ม METALLIZED 5 สาย (28,300 ตันต่อปี)

การจัดซื้อเม็ดพลาสติก

การจัดซื้อเม็ดพลาสติก จากแหล่งภายในประเทศประมาณร้อยละ 90.23 ของยอดซื้อเม็ดพลาสติกทั้งหมด และประมาณร้อยละ 9.77 สั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยบริษัทฯมียอดสั่งซื้อเม็ดพลาสติกจากผู้ผลิตที่มีสัดส่วนเกินกว่า ร้อยละ 30 ของยอดสั่งซื้อเม็ดพลาสติกรวม จำนวน 1 ราย ซึ่งผู้ผลิตและจำหน่ายรายนี้เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของประเทศและ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ส่วนการนำเข้าเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศ บริษัทฯ สั่งซื้อเม็ดจากประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ และ จีน เป็นต้น

kanit_naiwaenบริษัทฯ มีการสั่งซื้อเม็ดพลาสติกจากผู้ผลิตและจำหน่ายรายใหญ่ของประเทศ ได้แก่ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์จำกัด บริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โซจิทสึ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมียอด สั่งซื้อเม็ดพลาสติกจากผู้จัดจำหน่ายทั้งสามรายในปี 2558 ที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 52.82 และร้อยละ 24.70 และร้อยละ 10.20 ของยอดซื้อรวมตามลำดับ

คู่แข่ง

คู่แข่งสำหรับตลาดในประเทศมีอยู่ 2 รายได้แก่ บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) และผู้ผลิตอีกรายคือ บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยเป็นผู้ผลิต แผ่นฟิล์ม BOPET เท่านัน ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะภาพของบริษัท เนื่องจากยังมีความ ต้องการสูงในตลาด และอีกประการหนึ่งลูกค้าบรรจุภัณฑ์ต้องใช้สินค้าทั้งแผ่นฟิล์ม BOPP แผ่นฟิล์ม BOPET และแผ่นฟิล์ม BOPA (Nylon) ร่วมกันดังนั้นจึงมีการสั่งสินค้าทัง 3 ประเภทจากผู้ผลิตรายเดียวแทนที่จะแยกสั่งเพื่อความสะดวก ดังนั้นบริษัทฯจึงมีศักยภาพใน การตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่

think beyond

การขยายกำลังการผลิต

ณ สิ้นปี 2558 บริษัทมีเงินกู้ยืมระยะยาวจำนวน 2,436.25 ล้านบาท จากสถาบันการเงินเพื่อลงทุนใน สายการผลิตแผ่นฟิล์ม BOPP แผ่นฟิล์ม BOPET แผ่นฟิล์ม METALLIZED และแผ่นฟิล์ม CPP โดยจะต้องชำระคืนเงินต้นทุก 3 เดือนตั้งแต่ปี 2558 ถึงปี 2566

โดยบริษัทมีข้อตกลงกับสถาบันการเงินเจ้าหนีว่าจะต้องดำรง D/E ไว้ไม่ให้เกิน 3 เท่า ตลอดอายุสัญญากู้เงิน โดยปัจจุบันบริษัทมี D/E เท่ากับ 1.62 เท่าบริษัทจึงอาจมีความเสี่ยงหากบริษัทไม่สามารถดำรงค่า D/E ไว้ได้ก็จะทำให้ผิดสัญญากู้ยืมเงินซึ่งหากเจ้าหนีหยุดการให้กู้ยืม หรือมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเงินให้กู้ยืม ก็อาจมีผลกระทบต่อสภาพคล่องและฐานะการดำเนินงานของบริษัทได้

ข้อสรุปของการลงทุน

สำหรับสมาชิกเว็บอ่านบทความเพิ่มเติมแบบ Exclusive กรุณา Login หรือสมัครสมาชิกที่นี่ “คลิ๊กเพื่อสมัครสมาชิก” [hide for=”!logged”] 

สำหรับหุ้น AJ นั้นมียอดขายรวมเพิ่มขึ้นจาก 1 แสนตันต่อปี เป็นปัจจุบันราว 1.2 แสนตันต่อปี หรือยอดขายถ้าคิดตามน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่า 20% ในขณะที่กำไรของกิจการยังไม่มา เนื่องจากงบลงทุนที่สูงขึ้น ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ตัดค่าเสื่อมมากขึ้น แถมราคาพลาสติกยังไม่เป็นขาขึ้นเต็มที่

อัตราส่วนคร่าวๆ ของการใช้วัตถุดิบเม็ดพลาสติกของ AJ คือ PP 70% PET 30% ถ้าเราคิดตามนี้จะแบ่ง เป็นการใช้เม็ด PP ต่อไตรมาสตกราว 21,000 ตัน หรือ 21 ล้านกิโลกรัม และ PET จะใช้ราว 9,000 ตันต่อไตรมาส หรือตกราว 9 ล้านกิโลกรัม ทำให้เราสามารถคำนวณกำไรล่วงหน้าได้ตามราคาเม็ดพลาสติกที่ขึ้นๆ ลงๆ ในท้องตลาด

ยกตัวอย่างเช่น เม็ดพลาสติกเมื่อสามเดือนที่แล้วเป็นดังนี้ PP 44 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันราคา 48 บาทต่อกิโลกรัมมีส่วนต่าง 4 บาทต่อกิโลกรัม และ PET 34 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันราคา 40 บาทต่อกิโลกรัมมีส่วนต่าง 6 บาทต่อกิโลกรัม เราสามารถคำนวณได้ดังนี้

ส่วนต่างฟิลม์ PP = 4 x 21 = 81 ล้านบาทต่อไตรมาส

ส่วนต่างฟิลม์ PET = 6 x 9 = 54 ล้านบาทต่อไตรมาส

รวมแล้วมีส่วนต่างจากราคาฟิลม์ = 81 + 54 = 135 ล้าน

ถ้าธีมการลงทุนเราเล่นเป็นต่อไตรมาส และเราคิดว่าไตรมาสหน้าราคาฟิลม์จะปรับตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสปัจจุบัน และราคาหุ้นยังไม่ตอบรับก็สามารถลงทุนได้ครับ

อย่างไรก็ตามวิธีการคิดดังกล่าวเป็นการคิดคร่าวๆ และตัวเลขที่ยกมาเป็นเพียงตัวเลข “สมมติ” ขอให้ทุกท่านนำแนวคิดไปใช้ก็พอ อย่าได้นำตัวเลขที่คำนวณไปใช้จริงๆ นะครับ ผู้เขียนไม่รับผิดชอบหากเกิดความเสียหายกับการลงทุน แต่ถ้าเราคิดจะลงทุนจริงต้องเจาะลึกให้มากขึ้น ว่ามีต้นทุนอะไรแฝงอยู่บ้าง ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรตัดเท่าไร และต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่าไร จะทำให้การทำนายกำไรในอนาคตของเราแม่นยำขึ้นได้กว่าเดิมนั่นเอง

[/hide]

note naiwaen 09

ไม่มีเวลาอ่านฟังในรูปแบบคลิ๊ปเสียง “คลิ๊กที่นี่”

อ่านหุ้นรถไฟฟ้าเพิ่มเติม “คลิ๊กเพื่ออ่าน”

คำเตือน การวิเคราะห์หุ้น การลงทุนรูปแบบต่างๆ และเทคนิคการลงทุนในหุ้นเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร ผู้เขียนบทความไม่รับผิดชอบต่อความเสี่ยง หรือความเสียหายในการลงทุนของผู้รับข้อมูลนะครับ

#‎หนังสือน่าอ่าน‬ เจาะหุ้น VI เกาะกระแสเมกะเทรนด์

กระแสเมกะเทรนด์ในยุคใหม่มีอะไรบ้าง และเราจะลงทุนอย่างไรให้เกาะไปกับกระแส เพื่อไม่ให้ตกรถ หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าประสบการณ์ลงทุนในหุ้น จะทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับหุ้นที่เราไม่รู้จัก และปลอดภัยจากการลงทุนได้มากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

หน้าปก เจาะหุ้นวีไอเกาะกระแสเมกะเทรนด์

บทนำ “จุดเริ่มต้นของการลงทุนแนววีไอ”
บทที่ 1 เลือกหุ้นอย่างไรให้ปลอดภัย
บทที่ 2 เจาะหุ้นเหล็ก
บทที่ 3 ยุคแห่งพลังงานสะอาด และเมกะเทรนด์โรงไฟฟ้า
บทที่ 4 บทเรียนหุ้นพลังงานทดแทน
บทที่ 5 เจาะแก่นหุ้นเล็กโตไว
บทที่ 6 วีไอซื้อหุ้นต้องดูอะไรบ้าง?
บทที่ 7 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์
บทที่ 8 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นรถไฟฟ้า และหุ้นคอนโดมิเนียม

ติดตามได้ที่นี่เลยครับ “คลิ๊กเพื่อเข้าสู่หนังสือ”