#หาหุ้นทำเงินสไตล์VI : กรณีศึกษาหุ้นที่แตกหุ้นลูกเข้า IPO มีหลักการลงทุนอย่างไร

กรณีศึกษาหุ้นที่แตกหุ้นลูกเข้า IPO มีหลักการลงทุนอย่างไร

โอกาสของการลงทุนระยะสั้น

การลงทุนมีหลายรูปแบบ สำหรับผมแล้วการลงทุนไม่ได้จำกัดอยู่แค่ลงทุนระยะยาว แต่หากพบโอกาสดีๆ ที่เราจะสามารถลงทุนระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรได้ด้วยความเสี่ยงต่ำ ผมเองก็มักจะติดตามเพื่อมองหา “โอกาส” ดังกล่าว … สำหรับกรณีศึกษาหุ้นที่แตก “ลูกหุ้น” เข้า IPO นั้นจะมีโอกาสอะไรที่น่าสนใจบ้าง ลองติดตามกันดูครับ

หุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

นายแว่นธรรมดา 02ในอนาคตการจัดการขยะจะเป็นวาระสำคัญสำหรับชุมชนเมือง และเป็นวาระแห่งชาติ ผมเข้าใจว่าโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมีโอกาสที่จะเป็น “เมกะเทรนด์” ค่อนข้างจะสูงมาก ข้อคิดเห็นก็คือ การทำโรงไฟฟ้าขยะนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ทำจากขยะ มีการคัดแยกขยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเชื้อเพลิง ดังนั้นไม่ใช่ว่าใครคิดจะทำก็ทำได้

หุ้นที่ผมนำมาเป็นกรณีศึกษา เป็นหุ้นโรงปูนซีเมนต์ ที่กำลังจะนำโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเข้าเทรดในตลาดหุ้น ตามแผนก็คือปลายปี 2559 ฟังแบบนี้ทำให้เรารู้สึกอยากจะลงทุน และเรียกความสนใจให้กับคนที่เห็นอนาคตเป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่เราคิดจะลงทุนหุ้นซักตัวเราต้องประเมินมูลค่าของหุ้นออกมาให้ได้เสียก่อน

ส่องตัวเลขทางการเงิน

TPIPL

ส่วนของสินทรัพย์

สินทรัพย์ของหุ้นตัวนี้เติบโตขึ้นทุกปีจาก 7.6 หมื่นล้าน จนในปัจจุบันมีสินทรัพย์กว่า 1 แสนล้าน การเติบโตของสินทรัพย์นั้นเราต้องเข้าไปดูว่าสินทรัพย์เหล่านั้นคืออะไร มีความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์มากน้อยแค่ไหน สำหรับโรงปูนซีเมนต์ สินทรัพย์ส่วนใหญ่คือโรงงานผลิตปูนฯ นั่นเอง

ส่วนของหนี้สิน

สำหรับส่วนของหนี้สินก็โตขึ้นทุกปี แบบนี้ถือว่าไม่ค่อยดี แต่เราก็ต้องดูว่าหนี้สินที่เกิดขึ้นถูกนำมาใช้ทำอะไร ลงทุนไปกับอะไรบ้าง ถ้าหนี้สินโต พร้อมสินทรัพย์ที่โตขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าหนี้สินถูกนำมาใช้ลงทุนกับสินทรัพย์ซึ่งก็คือโรงผลิตปูนซีเมนต์นั่นเอง และอีกส่วนที่นำเงินไปลงทุน และเรากำลังติดตามก็คือ “โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ”

โรงไฟฟ้าขยะ RDF

ส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะนั้นถูกออกแบบมาให้ใช้วัตถุดิบในการเผาเพื่อเกิดเป็นพลังงานไปปั่นกระแสไฟฟ้า นั่นคือ แท่ง RDF หรือ Refuse-derived fuel ซึ่งได้จากการนำขยะมาทำแห้ง และอัดเป็นแท่งนั่นเอง (ตามภาพ)

ในส่วนของการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าขยะ

จากภาพจะเห็นว่าโรงไฟฟ้าของหุ้น TPIPL ในปัจจุบันมีการ COD จ่ายไฟให้กับการไฟฟ้าแล้ว 2 เฟส รวมแล้วกว่า 73 MW และยังมีโรงไฟฟ้าในเฟสสามอีกกว่า 70 MW ที่รอจ่ายไฟฟ้าภายในปี 2017

จะเห็นได้ว่ากิจการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมีแนวโน้มที่มีอนาคตอย่างแน่นอน โดยทาง TPIPL จะยื่นไฟลลิ่งเข้าเทรดเป็นหุ้น IPO ปลายปีนี้โดยใช้ชื่อว่า TPIPP : บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)  ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นผลิตไฟฟ้าจากขยะและพลังงานความร้อนทิ้ง และประกอบธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ (NGV)

เมื่อมีข่าวดีรออยู่ข้างหน้าแบบนี้หน้าที่ของนักลงทุนก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าราคาหุ้นนั้น “รับข่าว” ไปแล้วหรือยัง ด้วยการประเมินราคาในปัจจุบัน วิธีที่ผมนิยมใช้ก็คือ EV/EBITDA

ประเมินมูลค่าหุ้น สำหรับสมาชิกเว็บอ่านบทความเพิ่มเติมแบบ Exclusive กรุณา Login หรือสมัครสมาชิกที่นี่ “คลิ๊กเพื่อสมัครสมาชิก” [hide for=”!logged”] 

ผมลองย้อนดูตัวเลขสามปีล่าสุด EBITDA ของหุ้นตัวนี้มีค่าเฉลี่ยที่ 3,500 ล้านบาท ลองหาค่า EV จากสูตรต่อไปนี้

EV = Mcap + หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย – เงินสด

EV = 44,821.80 + 39,653.17 – 16,750.40

EV = 67,724 ล้านบาท

EV/EBITDA = 67,724 / 3500 = 19.34 เท่า

หากเราประเมินมูลค่าออกมาได้ดังนี้ถือว่าหุ้นตัวนี้ “ราคาแพง” แต่อย่าลืมว่าเรายังไม่ได้ประเมินมูลค่าหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่กำลังจะเข้า IPO ภายในสิ้นปีนี้ ลองมาประเมินกันดู

ประเมินโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

การประเมินมูลค่าโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ผมจะประเมินจาก “สิ่งที่เห็น” ก็คือ โรงไฟฟ้าสามโรงที่อีกหนึ่งโรงรอขายไฟให้กับการไฟฟ้า รวมโรงไฟฟ้าทั้งสามโรงได้มา 143 MW

โดยปกติแล้วโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ หรือพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิง RDF นั้นมีกำไรอยู่ราวๆ 10-15 ล้านบาทต่อ MW สาเหตุที่กำไรแกว่ง เนื่องจากมีส่วนผสมของ “ถ่านหิน” ในกรณีที่ขาดแคลน RDF หากการใช้ถ่านหินมาปั่นไฟฟ้าไม่เกิดกำหนดที่ทาง PPA ให้เงื่อนไขเอาไว้ก็สามารถได้รับ adder ที่ 3.5 บาทต่อยูนิตได้ ผมให้กำไรแบบอนุรักษ์นิยมที่ราวๆ 10 ล้านบาทต่อเมกกะวัตต์

กำไรที่ควรจะเป็น = 143 x 10 = 1,430 ล้านบาท

เราคิดว่าทาง TPIPL นั้นจะมีการทำโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องผมจึงขอให้ PE ราวๆ 15 เท่า

ขนาดกิจการของโรงไฟฟ้าขยะควรจะเป็น = 1,430 x 15 = 21,450 ล้านบาท

เอาไปหักลบกับ EV ข้างต้นเพื่อประเมินกิจการใหม่

EV ใหม่ = 67,724 – 21,450 = 46,274 ล้านบาท

EV/EBITDA ใหม่ = 46,274 / 3,500 = 13.22 เท่า

ราคาแม้จะดูถูกลงมาหน่อย แต่หากค่านี้เกิน 10 เท่ายังถือว่าแพงอยู่ดีครับ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าเราคิดว่าโรงไฟฟ้าขยะสามารถทำกำไรได้ดีกว่าที่คิด แถมยังมีสถานีบริการก๊าซ NGV ที่เรายังไม่ได้ประเมิน ในจังหวะของขนาด MCap ณ.ตอนนี้อาจใช้คำว่า “เหมาะสม” เท่านั้น

ปริศนาขาดทุนในไตรมาส 1 ปี 2559

จากภาพของตัวเลขทางการเงินข้างต้นเราจะเห็นว่าในไตรมาสล่าสุดมีบันทึกขาดทุนอยู่ห้าสิบกว่าล้าน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

ย้อนกลับไปตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ TPI ประสบปัญหาต้องปรับโครงสร้างใหม่ และยังมีหนี้สินอยู่พอสมควรที่ติดค้างกันมา สิ่งนี้ถูกสะท้อนออกมาที่ค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มสูงขึ้นมาก

สาเหตุที่ค่าเสื่อมราคาสูงขึ้นเนื่องจากในอดีต TPI มีการตีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นหลักหมื่นล้านบาท เพื่อค่าเสื่อมราคาหายไป โดยหากตัดค่าเสื่อมนั้นปีๆ หนึ่งจะต้องตัดกว่า 1.3 พันล้าน แต่ทางเจ้าของเลือกใช้วิธีการตีมูลค่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นแทน

แต่เรื่องของเรื่องก็คือ มาตรฐานบัญชีใหม่ที่ไม่ยอมให้ทำแบบนี้ ทำให้ต้องนำมาตัดค่าเสื่อมเหมือนเดิม จึงสะท้อนมาที่กำไรที่เมื่อถูกหักค่าเสื่อมออกไปแล้วจึง “ติดลบ”

อย่างไรก็ตาม กำไรที่ทำได้จริงยังคงไปบันทึกอยู่ที่ “กำไรสะสม” ดังนั้นในอนาคตเราอาจได้เห็นการ “ปันผล” จากกำไรสะสมทั้งๆ ที่กำไรสุทธิน้อยกว่าเงินปันผลก็เป็นไปได้ หากทำแบบที่ว่าตลาดอาจจะแปลกใจ และเป็นหนึ่งในเหตุที่จะทำให้ราคาหุ้นขยับตัวขึ้นก็เป็นไปได้ครับ

ข้อสรุปของการลงทุน

สำหรับข้อสรุปของการลงทุนในหุ้นตัวนี้ มุมมองในด้านราคาหุ้น สำหรับ Mcap ในปัจจุบันที่ราวๆ 44,821.80 ผมเข้าใจว่าน่าจะใช้คำว่า “ราคาเหมาะสม” ได้ เพียงแต่ว่าสิ่งที่ต้องระวังก็คือ ลักษณะของกิจการที่กำไรยังแกว่ง เพราะเป็นโรงปูนขนาดกลางไม่มีการประหยัดต่อขนาด ช่องทางการจำหน่ายก็ด้อยกว่าโรงปูนขนาดใหญ่ สิ่งที่เราจะเล่นหุ้นตัวนี้คงเป็นประเด็นข่าวการนำหุ้นโรงไฟฟ้าเข้า IPO และการ Surprise จากตลาดเรื่องเงินปันผลนั่นเองครับ

[/hide]

#‎หนังสือน่าอ่าน‬ เจาะหุ้น VI เกาะกระแสเมกะเทรนด์

กระแสเมกะเทรนด์ในยุคใหม่มีอะไรบ้าง และเราจะลงทุนอย่างไรให้เกาะไปกับกระแส เพื่อไม่ให้ตกรถ หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าประสบการณ์ลงทุนในหุ้น จะทำให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับหุ้นที่เราไม่รู้จัก และปลอดภัยจากการลงทุนได้มากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

หน้าปก เจาะหุ้นวีไอเกาะกระแสเมกะเทรนด์

บทนำ “จุดเริ่มต้นของการลงทุนแนววีไอ”
บทที่ 1 เลือกหุ้นอย่างไรให้ปลอดภัย
บทที่ 2 เจาะหุ้นเหล็ก
บทที่ 3 ยุคแห่งพลังงานสะอาด และเมกะเทรนด์โรงไฟฟ้า
บทที่ 4 บทเรียนหุ้นพลังงานทดแทน
บทที่ 5 เจาะแก่นหุ้นเล็กโตไว
บทที่ 6 วีไอซื้อหุ้นต้องดูอะไรบ้าง?
บทที่ 7 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นโภคภัณฑ์
บทที่ 8 ประสบการณ์ลงทุนหุ้นรถไฟฟ้า และหุ้นคอนโดมิเนียม

ติดตามได้ที่นี่เลยครับ “คลิ๊กเพื่อเข้าสู่หนังสือ”

นายแว่นธรรมดา

อ่านหุ้นที่เกี่ยวข้อง และหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ “คลิ๊กเลย”

อ่านทุกเรื่องราวของความสำเร็จที่คุณทำได้อย่างแน่นอน “คลิ๊กอ่านที่นี่”

และอ่านทุกเรื่องราวของหุ้นอสังหา หุ้นที่จะได้รับอนิงสงค์จากการที่มีรถไฟฟ้าหลากหลายสายเกิดขึ้น! คลิ๊กอ่านต่อที่นี่เลยครับ

อ่านหนังสือเสริมความรู้ #ลงทุนหุ้นให้โตเร็ว : ปัญหาของนักลงทุนหุ้นโตเร็วก็คือ มองหุ้นโตเร็วไม่ออก มองภาพใหญ่ไม่ชัดเจน และจัดพอร์ตไม่เป็น ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณได้อ่านหนังสือเล่มนี้ “ลงทุนหุ้นให้โตเร็ว” ติดตามได้ที่นี่เลยครับ

‪#‎ช่องทางการติดตามข้อมูล‬‪#‎นายแว่นธรรมดา‬

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการติดตามข้อมูล โดยเฉพาะสมาชิกเว็บ www.naiwaen.com ท่านสามารถติดต่อโดยตรงได้ที่ [email protected]

หรือเข้าไปติดตามบทความในรูปแบบคลิ๊ปเสียงที่ https://www.youtube.com/channel/UCcQxvgiObaaA2DI3UOqrXZw

เพื่อนๆ ยังสามารถเข้าไปติดตามความเคลื่อนไหวใหม่ล่าสุดที่บล็อกพันทิป http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=naiwaentammada(ปัจจุบันมียอดเพจวิวกว่า 3.1 ล้านวิว)

หรือยังไม่จุใจท่านยังสามารถเข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกันที่นี่ครับ https://plus.google.com/u/0/118319315169248364407

สำหรับเรื่องราวของอสังหาริมทรัพย์… เพื่อนๆ สามารถเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการได้ที่นี่ www.topofliving.com

และเตรียมพบกับเว็บบอร์ดคุยเรื่องหุ้นเร็วๆ นี้นะครับ

ยินดีต้อนรับทุกท่าน อีโมติคอน grin
สำหรับ “นายแว่นธรรมดา” แล้วเราจะทำให้เพื่อนๆ ทุกท่าน

“มีชีวิตที่ง่าย และดี”

ขอแนะนำเว็บไซค์เกี่ยวกับบ้าน และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ www.topofliving.com

mini LOGO TOP